ในการเลี้ยงสัตว์หากไม่มีการกำจัดมูลสัตว์ที่เหมาะสม จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

หรือส่งกลิ่นรบกวน ไส้เดือนสามารถย่อยสลายของเสียได้ โดยกลืนกินของเสีย ย่อยและขับออกเป็นมูลไส้เดือน มูลไส้เดือนมีธาตุอาหารในรูปที่คงสภาพนานกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป โดย ไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส และแคลเซียม จะอยู่ในรูปสารประกอบที่ละลายน้ำได้ดี เป็นประโยชน์ต่อพืชผล มูลแพะมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้โดยตรง เพราะจะย่อยสลายได้ช้า เราสามารถนำมูลแพะมาใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงไส้เดือนได้โดยตรง นับเป็นวิธีที่เหมาะสม ในการลดมลพิษจากการเลี้ยงสัตว์ และได้ผลลัพธ์สุดท้ายเป็นปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนนำไปใช้ประโยชน์ และเพิ่มจำนวนไส้เดือนซึ่งอาจนำมาเป็นเหยื่อปลา เลี้ยงสัตว์ปีกได้อีกด้วย

วิธีการ

  1. ทำหลุมเก็บขี้แพะรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 1x1 เมตร ลึก 20–30 ซม. จำนวน 2–3 หลุม โดยใช้อิฐบล็อคหรือไม้กั้นเป็นขอบ
  2. ให้ปูพื้นหลุมด้วยทรายหยาบ ลึก 6–7 ซม.
  3. เก็บสะสมมูลแพะผสมใบไม้แห้ง ใส่หลุม ลึก 10–15 ซม. รดน้ำทุกวัน หมักไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  4. ใส่ไส้เดือนดิน ในอัตรา ½ กก.ต่อ 1 ตารางเมตร คลุมด้วยหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชื้น วันเว้นวัน
  5. ปิดคลุมไม่ให้โดนแดด ป้องกันไก่ลงคุ้ยเขี่ย ฝาไม่ทึบ ลมระบายได้
  6. ใช้เวลาประมาณ 60 วัน ไส้เดือนดินจะย่อยสลายมูลแพะกลายเป็นมูลไส้เดือน เป็นผงสีน้ำตาลดำ ร่วน ไม่มีกลิ่น ให้แยกเก็บมูลไส้เดือนไปใช้ได้ และแยกตัวไส้เดือนดินออกนำไปเลี้ยงในหลุมอื่นต่อไป

น่ารู้

  • ไส้เดือนดินพันธุ์ที่เหมาะจะใช้เลี้ยงเพื่อย่อยสลายของเสีย คือ ไส้เดือนแดง (red wigglers, tiger worm, Eisenia foetida)
  • ไส้เดือนจะเพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าใน 60–90 วัน ถ้าเพิ่มจำนวนจนแน่นมากเกินไปจะเป็นผลเสีย จึงต้องนำไส้เดือนดินออกอย่างสม่ำเสมอเพื่อขยายเลี้ยงต่อไป
  • ไส้เดือนชอบที่มืด เย็น ต้องทำหลุมเลี้ยงในที่ร่ม ไม่ตากแดด
  • ไส้เดือนต้องการความชื้นเพื่อหายใจทางผิวหนัง จึงต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้น แต่ไม่ท่วมขัง
  • ไส้เดือนยังชอบเศษพืชผัก แต่ห้ามให้ผลไม้รสเปรี้ยว, เศษเนื้อสัตว์, ไข่, น้ำมัน, ไขมัน
  • ขี้ไส้เดือนมีอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายแล้ว (humus) ซึ่งสกัดพิษ, เชื้อรา และแบคทีเรียออกจากดิน จึงมีคุณสมบัติต้านทานโรคพืช
  • มูลไส้เดือนกระตุ้นการเจริญของพืชได้ดีแม้ใช้เล็กน้อย โดยผสมมูลไส้เดือน 1 ส่วน กับดิน 3 ส่วน เพื่อทำดินปลูก หรือโรยมูลไส้เดือนใส่โคนต้นไม้โดยตรงก็ได้

 

สนใจเลี้ยงไส้เดือน ติดต่อขอรับพันธุ์ไส้เดือน Eisenia foetida ด้วยตนเอง แจกฟรี ไม่คิดมูลค่าใด ๆ

ติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ในวันและเวลาราชการ

 

เอกสารอ้างอิง

Ashok Kumar Panigrahi. 2009. Earthworms and Their Role in Soil Fertility Enhancement. Retrieved on : http://www.articlesbase.com/environment-articles/earthworms-and-their-role-in-soil-fertility-enhancement-1054001.htm .

V.K. GARG* – S. CHAND – A. CHHILLAR –A. YADAV. 2005. Growth and Reproduction of Eisenia Foetida in Various Animal Wastes during Vermicomposting. Applied Ecology and Evironmental Research. 3(2): 51-59. Retrieved on: http://www.ecology.kee.hu/pdf/0302_051059.pdf .

San Th y. 2001. Culturing earthworm in different substrates. In: Research cooperation for livestock-based sustainable farming systems in the lower Mekong basin – MEKARN UTA Foundation. August 12 to September 23rd 2001. http://www.mekarn.org/minipro/SanThy.htm .

Nagavallemma KP, Wani SP, Stephane Lacroix, Padmaja VV, Vineela C, Babu Rao M and Sahrawat KL. 2004. Vermicomposting: Recycling wastes into valuable organic fertilizer. Global Theme on Agrecosystems Report no. 8. Patancheru 502 324, Andhra Pradesh, India: International Crops Research Institute for the Semi-Arid Tropics. 20 pp. SAT eJournal V2:1 .retrieved on: http://ejournal.icrisat.org/agroecosystem/v2i1/v2i1vermi.pdf .

Asha Aalok, A.K. Tripathi and P. Soni. 2008. Vermicomposting: A Better Option for Organic Solid Waste Management. J Hum Ecol, 24Z1X:59-64. retreived on: http://www.krepublishers.com/02-Journals/JHE/JHE-24-0-000-000-2008-Web/JHE-24-1-000-000-2008-Abst-PDF/JHE-24-1-059-08-1636-%20Aalok-A/JHE-24-1-059-08-1636-%20Aalok-A-Tt.pdf .

Preston T R and Lylian Rodriguez. 2004. Production and utilization of cassava foliage for livestock in integrated farming systems . Livestock Research for Rural Development 16 (5). retreived on: http://www.lrrd.org/lrrd16/5/pres16028.htm .

 


 

เจ้าของ: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี ซ.5 ถ.เจริญประดิษฐ์ อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทร.073-335996
email no.: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.. ปรับปรุงครั้งสุดท้าย: 20 กพ. 2554
ผู้เขียน : นายสัตวแพทย์บรรจง จงรักษ์วัฒนา
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2554 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
ลิขสิทธิ์สงวนเฉพาะการทำซ้ำเพื่อการแสวงหาผลกำไร โปรดอ้างอิงผู้เขียนหากมีการนำไปเผยแพร่ต่อ