จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์สำหรับเกษตรกรรายย่อย

ฟาร์มขนาดเล็กส่วนใหญ่จะใช้การปล่อยให้สัตว์แทะเล็มในแปลงหรือหัวไร่ปลายนา ในฤดูแล้งพืชอาหารสัตว์จะมีปริมาณและคุณภาพไม่พอเพียงทำให้สัตว์สูญเสีย น้ำหนักและผลผลิต การแก้ไขปัญหานี้โดยการเสริมอาหารข้นสำหรับเกษตรกรรายย่อยจะเป็นไปไม่ได้ วิธีที่เหมาะสมมากกว่าคือการจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ซึ่งมีพืชอาหารสัตว์ คุณภาพสูง เพื่อที่จะได้รักษาระดับผลผลิตและสุขภาพของสัตว์ แปลงพืชอาหารสัตว์เช่นนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งปี

ชนิดพืชอาหารสัตว์

พืชอาหารสัตว์ที่ใช้ปลูกเป็นชนิดที่มีโปรตีนหรือแร่ธาตุที่สำคัญ เช่นฟอสฟอรัส (P) ซึ่งจะช่วยให้สัตว์โตเร็ว มีหลายชนิด ในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้ 2 ชนิด คือ กระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala) และ แคฝรั่ง (Gliricidia sepium)

  • กระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala)


    กระถินมีหลายชนิดแนะนำให้ใช้กระถินยักษ์ซึ่งจะให้ปริมาณพืชอาหารสัตว์จำนวนมาก กระถินโตเร็วในพื้นที่มีน้ำฝนระหว่าง 1 200 – 2 000 มม. ชอบดินที่ระบายน้ำดีและมีความเป็นด่าง เมล็ดกระถินแข็งมาก จึงต้องมีการจัดเตรียมก่อนปลูก
    ต้มน้ำเดือดราดลงบนเมล็ดกระถิน ใช้ปริมาณน้ำเดือด 3 เท่าของปริมาณเมล็ดกระถิน กวนเมล็ด 5 นาที แล้วเทน้ำร้อนทิ้ง แล้วจึงเติมน้ำเย็น

    เทน้ำเย็นออก แล้วปลูกทันที

    กระถินเป็นพืชตระกูลถั่วซึ่งสามารถเปลี่ยนกาซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับพืชด้วยกัน ดังนั้นกระถินสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยสำหรับดินที่ขาดไนโตรเจน กระบวนการนี้เรียกว่าการตรึงไนโตรเจน โดยแบคทีเรียซึ่งเรียกว่า rhizobia ซึ่งอยู่ที่รากของกระถิน

    เมื่อปลูกครั้งแรกในแปลง เชื้อ rhizobia อาจไม่มีอยู่ก่อน จึงอาจต้องใช้เมล็ดกระถินคลุกกับหัวเชื้อ rhizobia เสียก่อน หรือใช้ดินปลูกจากใต้ต้นกระถินมาผสมกับเมล็ดแล้วนำลงปลูก
  • แคฝรั่ง (Gliricidia sepium)



    แคฝรั่งเติบโตได้ดีในพื้นที่อบอุ่น ชื้น มีน้ำฝนเกินกว่า 800 มม.ต่อปี เติบโตได้ดีในดินหลายชนิด เป็นกรด ด่างหรือ ดินปนดินเหนียว แคฝรั่งปลูกได้จากเมล็ด หรือกิ่งปักชำ ถ้าใช้กิ่งต้องเป็นกิ่งแก่จากต้นเกินกว่า 6 เดือน ซึ่งสูง 1.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 5 ซม.

    ปักชำกิ่งลงแปลงภายใน 3 วัน ลึกลงไปในดิน 15 ซม.

    ถ้าปลูกจากเมล็ด ต้องแช่เมล็ดค้างคืนในน้ำร้อนก่อนปลูก แพะแกะชอบกินแคฝรั่งมากโดยสามารถให้กินมากตามที่ต้องการได้โดยไม่เป็นพิษ โคอาจไม่กินเมื่อตัดสดแต่หากตากแดดไว้ 2- 3 ชม. ก็จะสามารถนำมาเลี้ยงโคได้

การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์

ใบ ยอด กิ่ง ก้าน เมล็ดของต้นไม้สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ (วัว ควาย แกะ แพะ สัตว์ปีก) ซึ่งมีโปรตีนและแร่ธาตุสำคัญ เช่น ฟอสฟอรัส (P)
ค่าเฉลี่ยปริมาณวัตถุแห้งในพืชอาหารสัตว์
กระถิน (ใบ, ยอด) มีโปรตีน (22%), ฟอสฟอรัส (P) 0.12% ไฟเบอร์ 20%
แคฝรั่ง (ใบ, ยอด) มีโปรตีน (23%), ฟอสฟอรัส (P) 0.20% ไฟเบอร์ 21%
วิธีที่เหมาะที่สุดในการเลี้ยงคือปล่อยให้แทะเล็มตามธรรมชาติ แต่บางครั้งต้นอาจจะสูงเกินไปจึงใช้วิธีการตัดแล้วนำมาให้ในคอก โดยต้องสับย่อยพืชอาหารสัตว์ให้เป็นท่อนเล็กเสียก่อน เพื่อลดเศษพืชตกหล่น


นอกจากนั้นอาจให้แบบตากแห้ง โดยการตัดและตากแดด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ในภายหลัง หรือหลังตากแห้งนำมาบดป่นเป็นผงเพื่อนำมาใช้เลี้ยงสัตว์โดยตรงหรือผสมอาหารสัตว์อื่น

สำหรับกระถินต้องให้กินร่วมกับพืชอาหารสัตว์ชนิดอื่น โดยควรมีส่วนผสมของกระถินไม่เกิน 40 % การให้พืชอาหารสัตว์ควรมีอย่างน้อย 2 ชนิดด้วยกัน เช่น อาจใช้กระถิน 1 ส่วน กับแคฝรั่ง 3 ส่วน (แพะแกะชอบมาก) หรือ กระถิน 1 ส่วน (40%) กับหญ้า หญ้าแห้ง หรือ ผลพลอยได้ทางการเกษตรชนิดอื่น 1 ส่วนครึ่ง (60%)

วิธีทำแปลงปลูกพืชอาหารสัตว์

ทำการจัดเตรียมพื้นที่ ใช้การไถ ถางกำจัดวัชพืชออก ควรเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับหน้าฝน การปลูกอาจใช้วิธีหยอดเมล็ดลงในแปลงโดยตรง หรือการเพาะชำกล้าก่อนแล้วย้ายไปปลูกในแปลงภายหลังประมาณ 4 เดือน ก็ได้
การปลูกเป็นรั้ว หรือตามแนวถนน



การปลูกแบบสวนครัว (intensive fodder garden) เป็นการปลูกพืชสลับแนวเป็นแถว เช่น ปลูกแถวกระถินยักษ์มีระยะห่าง 2 เมตร มีระยะระหว่างต้นกระถินยักษ์ 25 ซม. ในพื้นที่เล็กขนาด 10x20 เมตร จะเลี้ยงแพะแกะ 5 ตัว ได้ตลอดทั้งปี การปลูกแบบนี้ เหมาะสำหรับการตัดกิ่งและใบเพื่อนำมาเลี้ยงสัตว์ ลำต้นจะเล็ก ระหว่างแถวสามารถปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้



แปลงพืชสลับแนว สามารถปลูกพืชอาหารสัตว์ได้หลายชนิด ดังตัวอย่างต่อไปนี้ การปลูก 3 ชนิด ได้แก่ แคฝรั่ง, กระถินยักษ์, หญ้า





การปลูก 4 ชนิด ได้แก่ มะแฮะขี้นก (Flemingia macrophylla), (http://www.rspg.or.th/plants_data/use/animals2_26.htm)
แคฝรั่ง, กระถินยักษ์, หญ้ากินนี-หญ้ารูซี่


การตัด หลังจากทำแปลงแล้ว อย่าเพิ่งเริ่มตัดหญ้าจนกว่า จะอายุได้ 8 สัปดาห์ ส่วนกระถินหรือแคฝรั่งเริ่มตัดได้เมื่ออายุ 12 เดือนขึ้นไป
หมุนเวียนตัดหญ้าทุก 4-6 สัปดาห์ ตัดกระถินหรือแคฝรั่ง ทุก 2-3 เดือน ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน ความสูงของต้นหญ้าที่ตัดต่ำกว่า 75 ซม.เล็กน้อย ตัดกระถินหรือแคฝรั่ง ที่ความสูงประมาณ 1 เมตร

เอกสารอ้างอิง

Smith O.B. 1994. Using Fodder from Trees and Shrubs to feed Livestock in the Tropics. Retrieved from : http://www.fao.org/DOCREP/006/T1975E/T1975E00.HTM .

FAO 1991. Legume trees and other fodder trees as protein sources for livestock . Proceedings of the FAO Expert Consultation held at the Malaysian Agricultural Research and Development Institute (MARDI) in Kuala Lumpur, Malaysia, 14–18 October 1991 Edited by Andrew Speedy and Pierre-Luc Pugliese. Retrieved from: http://www.fao.org/docrep/003/T0632E/T0632E00.HTM.

LPP 2006. Tree Fodder in SmallStock in Development. Retrieved from : http://www.smallstock.info/info/feed/tree-fodder.htm#Leucaena .

Tol A.V. 2004. Fodder Trees retrieved from: http://www.agromisa.org/agrobriefs/agrobrief1.pdf .

Gutteridge R.C. and H. M. Shelton. 1998.Forage Tree Legumes in Tropical Agriculture. Retrieved from : http://www.fao.org/ag/AGP/AGPC/doc/Publicat/Gutt-shel/x5556e00.htm .

Roshetko J. 1994. Fodder bank establishment and management. Agroforestry for the Pacific Technologies. Retrieved from : http://www.winrock.org/fnrm/factnet/FACTPUB/AIS_web/AIS8.html .